ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตกุ้งทะเลที่สำคัญ แต่จากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การผลิตกุ้งทะเลของไทยลดปริมาณลงเป็นอันมาก แต่กระนั้นก็ตามไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกในระดับต้น ๆ ของโลกที่หลายประเทศให้ความสนใจและจับตามอง
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากการแข่งขันทางการค้าของ "กุ้งทะเล" ที่สูงมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อมี "ข่าว" ไม่ว่าในทิศทางใดจะกระตุ้นความสนใจ และพร้อมที่จะ "แชร์" ต่อไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง จะเห็นได้จากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มี วีดีโอ ที่เผยแพร่ออกมาใน YouTube โดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรของประเทศเยอรมัน หัวข้อเรื่อง "The dirty business with the shrimp" ซึ่งงาน
สารคดีชิ้นนี้นำเสนอภาพที่เป็นลบกับการเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย ที่จะทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าใจผิดต่อภาพลักษณ์กุ้งทะเลของไทย โดยข้อมูลทั้งหมดเป็น "เรื่องเก่า" ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แม้แต่ Dr. David Bassett, Program Manager ของ EURASTiP หรือ The European Asian Aquaculture Technology and Innovation Platform ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน ยังได้มีคำแถลงในงาน Aquaculture in Thailand: Challenges and opportunities for Europe เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 ถึงวีดีโอดังกล่าวว่า
"…. วิดีโอที่ทำใหม่เป็นภาคภาษาอังกฤษชุดนี้ เป็นชุดเดียวกันกับ "Schmutizge shrimps-dirty shrimp in German" ซึ่งเผยแพร่ในเยอรมันเมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมันหมายความว่า นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเท็จแล้ว วิดีโอการนำเสนอครั้งนี้ยังเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย โดยเฉพาะประเด็นการกล่าวอ้างว่า พื้นที่ป่าชายเลนของไทยถูกทำลายล้างด้วยฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่ผิดวิธี มีการปล่อยน้ำทิ้งที่ทำความเสียหายแก่แม่น้ำลำคลองและสร้างมลพิษเป็นอันตรายกับเด็กที่ไปว่ายน้ำบริเวณนั้น รวมทั้งการจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากเมียนมาร์ และเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์เลย ไม่มีการพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลไทย รวมทั้งสมาคมกุ้งทะเลต่างๆ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้พยายามร่วมมือกันมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยมีความยั่งยืน…" และ EURASTiP ยินดีที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อต่อต้านข้อมูลและเนื้อหาที่เป็นเท็จในวิดีโอชุดนี้ Dr. David Bassett กล่าวทิ้งท้าย
และในฐานะประเทศไทย กรมประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต ขอขอบคุณ EURASTiP ผู้นำเข้า และผู้บริโภคทั่วโลกที่เชื่อมั่น "อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย" ตลอดมา และยืนยันว่า อุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่ "ความยั่งยืน" และขอความร่วมมือทุกท่านในการหยุดยั้งการ "แชร์" วีดีโอที่มีเนื้อหาอันเป็นเท็จชุดนี้ และช่วยกัน "เผยแพร่" และ "นำเสนอ" ข้อมูลที่ถูกต้อง หากท่านใดต้องการข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ติดต่อประสานขอข้อมูลที่กรมประมงได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากการแข่งขันทางการค้าของ "กุ้งทะเล" ที่สูงมากขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อมี "ข่าว" ไม่ว่าในทิศทางใดจะกระตุ้นความสนใจ และพร้อมที่จะ "แชร์" ต่อไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง จะเห็นได้จากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มี วีดีโอ ที่เผยแพร่ออกมาใน YouTube โดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรของประเทศเยอรมัน หัวข้อเรื่อง "The dirty business with the shrimp" ซึ่งงาน
สารคดีชิ้นนี้นำเสนอภาพที่เป็นลบกับการเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทย ที่จะทำให้ผู้บริโภคทั่วโลกเข้าใจผิดต่อภาพลักษณ์กุ้งทะเลของไทย โดยข้อมูลทั้งหมดเป็น "เรื่องเก่า" ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งสถานการณ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แม้แต่ Dr. David Bassett, Program Manager ของ EURASTiP หรือ The European Asian Aquaculture Technology and Innovation Platform ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความยั่งยืน ยังได้มีคำแถลงในงาน Aquaculture in Thailand: Challenges and opportunities for Europe เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 ถึงวีดีโอดังกล่าวว่า
"…. วิดีโอที่ทำใหม่เป็นภาคภาษาอังกฤษชุดนี้ เป็นชุดเดียวกันกับ "Schmutizge shrimps-dirty shrimp in German" ซึ่งเผยแพร่ในเยอรมันเมื่อปี พ.ศ. 2555 ซึ่งมันหมายความว่า นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเท็จแล้ว วิดีโอการนำเสนอครั้งนี้ยังเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย โดยเฉพาะประเด็นการกล่าวอ้างว่า พื้นที่ป่าชายเลนของไทยถูกทำลายล้างด้วยฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่ผิดวิธี มีการปล่อยน้ำทิ้งที่ทำความเสียหายแก่แม่น้ำลำคลองและสร้างมลพิษเป็นอันตรายกับเด็กที่ไปว่ายน้ำบริเวณนั้น รวมทั้งการจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากเมียนมาร์ และเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์เลย ไม่มีการพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลไทย รวมทั้งสมาคมกุ้งทะเลต่างๆ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้พยายามร่วมมือกันมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยมีความยั่งยืน…" และ EURASTiP ยินดีที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อต่อต้านข้อมูลและเนื้อหาที่เป็นเท็จในวิดีโอชุดนี้ Dr. David Bassett กล่าวทิ้งท้าย
และในฐานะประเทศไทย กรมประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต ขอขอบคุณ EURASTiP ผู้นำเข้า และผู้บริโภคทั่วโลกที่เชื่อมั่น "อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย" ตลอดมา และยืนยันว่า อุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่ "ความยั่งยืน" และขอความร่วมมือทุกท่านในการหยุดยั้งการ "แชร์" วีดีโอที่มีเนื้อหาอันเป็นเท็จชุดนี้ และช่วยกัน "เผยแพร่" และ "นำเสนอ" ข้อมูลที่ถูกต้อง หากท่านใดต้องการข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ติดต่อประสานขอข้อมูลที่กรมประมงได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้ายในที่สุด